วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ

การรักษาโดยการใช้ยา

1.ยาสงบประสาท/ยานอนหลับ

ยาในกลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาอาการนอนไม่หลับในระยะสั้นๆ 2-3 สัปดาห์ ที่สามารถใช้ร่วมกับการปรับพฤติกรรมโดยการไม่ใช้ยา ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มเบนโซไดอะซีน ที่ช่วยลดเวลาในการเข้านอน และลดการตื่นนอนในช่วงกลางคืน

2.ยากลุ่มแอนตีฮีสตามีน (antihistamine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน หลับง่ายขึ้นมีข้อแนะนำว่าอาจจะเป็นสาเหตุเกิดภาวะสับสนในผู้สูงอายุได้และควรจะหลีกเลี่ยง

3.เมลาโทนินฮอร์โมน เป็นยาที่สังเคราะห์จากซีโรโทนิน โดยเอนไซม์ arylalkylamine-N-acetyltransferase และhydroxyindole-O-methyltransferase ออกฤทธิ์ควบคุมวงจรการนอนหลับของร่างกาย ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และช่วยปรับสมดุลการนอนให้เป็นปกติ

4.ยาต้านการซึมเศร้า (Antidepressants) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลิน (amitriptyline) และทรัยมิพพรามีน (trimipramine) เป็นต้น แต่ยาในกลุ่มนี้ มีผลข้างเคียง คือ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะคั่ง เกิดอาการท้องผูก ความคิดสับสน และง่วง

การรักษาอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา

1. การรักษาโดยการควบคุมสิ่งเร้า

– เข้านอนหรือขึ้นเตียงเมื่อง่วงนอนเท่านั้น

– ใช้เตียง และห้องนอนเพื่อการนอนหลับและการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น

– ถ้าหากไม่สามารถหลับได้ภายในเวลา 15-20นาทีให้ลุกจากเตียง และไปห้องอื่นทันทีและกลับเข้ามาเมื่อง่วงเป้าหมายก็เพื่อให้เกี่ยวข้องกับการหลับได้อย่างรวดเร็ว

– ทำซ้ำอีกในทุกคืนถ้ายังนอนไม่หลับจนสามารถนอนหลับโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเมื่อเข้านอน

– ตื่นให้ตรงเวลาทุกวันแม้ว่าจะใช้เวลาในการหลับเพียง 1-2 ชั่วโมง

– หลีกเลี่ยงการงีบในเวลากลางวัน

2.การรักษาด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับบางคนที่ทำงานมาหนัก มักมีอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ และหากมีการนวดกล้ามเนื้อที่ช่วยทำให้เกิดความผ่อนคลายแล้วมักจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

3. การผ่อนคลายทางด้านจิตใจ

บางคนมีความเครียด และเรื่องวิตกกังวลมาก ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีผ่อนคลายจิตใจ และทำให้เกิดสมาธิ เช่น การนั่งสมาธิ การสะกดจิต การฟังดนตรี เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้จิตผ่อนคลาย ลดความเครียด ทำให้จิตพร้อมก่อนการเข้านอนได้

4. การจงใจทำในทางตรงข้าม

เป็นการเปลี่ยนมุมมองปัญหาการนอนไม่หลับด้วยการลดความวิตกกังวลจากการนอนไม่หลับ และลดความพยายามในการนอนหลับโดยวิธีการที่ใช้ คือ จะต้องไม่พยายามนอน และให้ทำสิ่งอื่นให้นานที่สุด หลังจากนั้น เมื่อลดความวิตกได้ และจิตใจเริ่มสบาย ค่อยกลับเข้านอนอีกครั้ง

5.การจำกัดการนอน

เป็นวิธีการจำกัดเวลานอน แล้วค่อยปรับเวลานอนให้นานขึ้น เพราะหากเมื่อรู้สึกอดนอนมากๆ หากนอนหลับแล้วจะหลับได้ยาวนาน ทำให้ร่างกายปรับสมดุลการนอนกลับมาได้ง่าย

This entry was posted in สุขภาพ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.